|
|
|
|
|
|
|
..........เทศกาลเต็ด(Tet) เป็นเทศกาลอรุณแรกแห่งปี หรือชาวเวียดนามเรียกว่า เต็ด เหวียน ด่าน (Tet Nguyen Dan) ถือเป็นเทศกาลขึ้นปีใหม่ ทางจันทรคติที่สำคัญที่สุดของชาติเวียดนามเลยทีเดียว เทศกาลเต็ดจะเริ่มขึ้นหนึ่งสัปดาห์ก่อนที่จะเข้าสู่ ปีใหม่ โดยเริ่มต้นในวันที่ 23 เดือน 12 จะมีพิธีเซ่นไหว้เต๋า กวน หรือ เทพเจ้าแห่งครัว ด้วยผลไม้สด อาหารคาวหวาน รองเท้าชุด แต่งกายขุนนางและปลาคราฟ เพื่อที่จะส่งเทพเจ้าแห่งครัว ขึ้นไปรายงานความเป็นไปในแต่ละครอบครัวในปีที่ ผ่านมาบนสรวงสวรรค์ นอกจากนี้ชาวเวียดนามยังนิยมตั้ง เกย เนว (Cay Neu) ซึ่งเป็นต้นไม้ทำจาก ลำไผ่มาปักไว้หน้าบ้าน ต้นนี้เป็นสัญลักษณ์แห่งความ โชคดี และมงคลจะทำให้วิญญาณชั่วร้ายหวาดกลัวและหนีไป ในช่วง 7 วัน ก่อนปีใหม่นี้ จะมีการทำความสะอาดบ้านเรือนสิ่งของใดๆ ที่ชำรุดเสียหายก็ทิ้งไปและเปลี่ยนใหม่ตระเตรียมเสื้อผ้าใหม่ๆเพื่อที่จะต้อนรับสิ่งดีๆในปีใหม่ |
|
|
..........คนเวียดนามจะ นิยมประดับตกแต่งบ้านด้วยไม้มงคล 3 ชนิดคือ ต้นส้มจี๊ด ดอกท้อสีแดง และดอกมายสีเหลืองทอง ถือเป็น สัญลักษณ์ของฤดูใบไม้ผลิ ทำให้คนในบ้านมีความสุขและโชคดี ในระยะ 7 วันก่อนเทศกาลเต็ดนี้ คนเวียดนามมีธรรมเนียมการ ไปเยี่ยม และทำความสะอาดที่สุสานของบรรพบุรุษด้วย มีการล้าง ปัดกวาด ทาสีใหม่ เขียนตัวหนังสือที่ป้ายชื่อใหม่และจุดธูปเซ่นไหว้ ด้วยผลไม้ อาหารคาวหวาน กระดาษทองบอกกล่าวให้บรรพบุรุษกลับมาบ้านเพื่อเฉลิมฉลองปีใหม่กับลูกหลาน ในวันส่งท้ายปีเก่า สมาชิกใน ครอบครัวของชาวเวียดนามจะมาพร้อมหน้าพร้อมตากัน เพื่อเซ่นไหว้เทพเจ้าและบรรพบุรุษหิ้งบูชาจะได้รับการ ประดับประดาตกแต่ง อย่างงดงาม ประดับด้วยดอกไม้มงคล ดอกท้อ ดอกมาย และมีไฟฟ้าสว่างไสว ของเซ่นไหวก็อุดมสมบูรณ์ ประกอบไปด้วยผลไม้ห้าชนิด ตามคติความเชื่อว่าเลข 5 นั้นบ่งบอกถึงความสมบูรณ์ โชคดี ความสุขห้าอย่างที่คนเวียดนามเชื่อคือ ฐานะร่ำรวย เกียรติยศ อายุยืน สุขภาพแข็งแรง และความสุข นอกจากนี้ก็มีอาหารคาวหวาน หมูหัน ไก่ ข้าวเหนียวสีแดง ผลไม้เชื่อมต่างๆ เช่น มะพร้าวแก้ว บัวเชื่อม มะเขือเทศเชื่อม ขนมประจำเทศกาลเต็ด หมูยอ เเหนม เมี่ยงทอด กระดาษเงินทอง เสื้อผ้ากระดาษ แต่อาหารสำคัญที่ขาดไม่ได้เลย ในเทศกาลเต็ด คือแบ๋งห์จึง ทำจากข้าวเหนียว ถั่วเขียว เนื้อหมู ห่อด้วยใบไม้สีเขียว รูปทรงสี่เหลียมจัตุรัสบางท้องถิ่นจะห่อเป็นรูปทรงกระบอก เวลากินจะกินคู่กับเยือหมอน ซึ่งเป็นผักดองขึ้นชื่อของเวียดนาม ขนมนี้จะเป็นสัญลักษณ์ของแผ่นดิน และแบ๋งห์ใหย่ ทำจากข้าวเหนียวนึ่ง รูปวงกลม ซึ่งหมายถึงพระอาทิตย์ สะท้อนคติในเรื่อง จักรวาลที่ประกอบไปด้วย ฟ้าและดิน หลังจากการเซ่นไหว้เทพเจ้าและบรรพบุรุษจะเป็นการรับประทานอาหารร่วมกัน และอยู่รอตอนรับปีใหม่ในช่วงเที่ยงคืนเรียกว่า ซาวเถื่อ (Giao thua) จะมีการตั้งโต๊ะเซ่นไหว้เทพเจ้าที่ลงมาดูแลโลกมนุษย์ที่หน้าบ้าน มักมีการจุดปะทัดหรือพลุ เพื่อเป็นสัญญาณว่าปีใหม่ได้มาถึงแล้ว จากนั้นจะฉลองปีใหม่ในอีก 3 วัน ตามธรรมเนียมเวียดนามวันที่ 1 เป็นเต็ดของครอบครัวบิดา วันที่ 2 เป็นเต็ดของครอบครัวฝ่ายมารดา วันที่ 3 เป็นเต็ดของครูอาจารย์ ดังนั้นคนเวียดนามจะเดินทาง ไปเยี่ยมเยียนและขอบคุณบุคคลที่มีพระคุณหรือให้ ความช่วยเหลือกันมา ความประทับใจและชื่นชอบอย่างมากถึงขั้นหลงใหล ในเทศกาลเต็ดของผม ซึ่งถูกปลูกฝังมาแต่ครั้งเยาว์วัย ถึงแม้ผมจะเติบโตนอกเวียดนาม คือในประเทศไทยได้แก่ คำบอกเล่าที่ว่า |
|
|
..........เทศกาลเต็ด เป็นเทศกาลแห่งการเชื่อมโยงอดีตและปัจจุบันของครอบครัวจากรุ่นสู่รุ่น การพบปะกันของคนในครอบครัว ซึ่งทำงานอยู่ห่างไกล ได้กลับมาเจอกัน การได้แสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ จะมีการให้พรอายุหรือ หมึ่งต่วย (mung tuoi) โดยผู้ใหญ่จะให้ซองแดงแก่เด็กๆและอวยพรให้ประสบความสำเร็จในการเรียนและ หน้าที่การงาน ส่วนลูกหลาน ก็จะร่วมกันอวยพรให้พ่อแม่และปู่ย่าตายายมีสุขภาพแข็งแรงและอายุ ยืนยาว พิธีที่หน้าสนใจอีกอย่างของเทศกาลเต็ดคือ การซงหญ่า (Xong nha) นั้นคือความเชื่อที่ว่าผู้มาเยือนในวันแรกของเต็ดจะทำนายโชคอนาคตและวาสนา ของเจ้าของบ้านในปีนั้น ดังนั้นคนเวียดนามจึงมักเชิญคนที่มีคุณสมบัติมาอวยพรครอบครัวของตนในเช้าวัน ขึ้นปีใหม่ นอกจากนี้ในข่วงเต็ดยังมีข้อห้ามต่างๆ เช่นห้ามกวาดบ้านเพราะเกรงว่าอาจกวาด โชคลาภออกไป ห้ามยืมเงิน ห้ามพูดคำหยาบ เป็นต้น ในช่วงต้นปีคนเวียดนามก็นิยม เดินสายไปทำบุญไหว้พระตามวัดวาอารามและศาลเจ้า ต่างๆ เพื่อขอพรให้มีโชคตลอดปี และมีการติดกระดาษแดง ที่เขียนคำกลอน อวยพรดีๆประดับบ้านด้วย ปัจจุบันนี้เทศกาลเต็ดยังได้รับการจัดในทั่วโลกในประเทศที่มีชุมชนชาว เวียดนามอาศัยอยู่เป็นงานใหญ่ด้วย |
|
|
ผู้แต่ง : อรรถพล อุดร
ที่มา : http://vovworld.vn |
|
|
สนใจโปรแกรม ติดต่อ บริษัท บ้านมัคคุเทศก์ ทัวร์
โทร
02-374-7222
เดินทางวันที่ 19-22 กุมภาพันธ์ 2559
รายละเอียดโปรแกรม
Download Program
ติดตามพวกเราได้ที่ : บ้านมัคคุเทศก์ ทัวร์
Facebook BMT Channel :www.facebook.com/BaanMakkutedtour
Youtube BMT Channel :www.youtube.com/channel/UCvVUwcxfq76LT2ot6L9EqSQ
Website BMT Tour : www.bmttour.com/ |
|
|
|
|
|
|